วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Graphic Mind Map เกี่ยวกับ "ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต"






Internet  มาจากคำว่า Inter แปลว่า ระหว่าง และคำว่า Net มาจาก Network แปลว่าเครือข่าย

"ระบบอินเทอร์เน็ต"   จึงมีความหมาย ว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ที่ใดบนโลก โดยถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด
โดยมี โปรโตคอล (Protocol) เป็นกฏกติกา ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องมีระเบียบ เช่น TCP FTP HTP

ความเป็นมา
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา มีการก่อตั้งโครงการ ARPANET  เพื่อทดลองระบบเครือข่ายของหน่วยงานทหาร และป้องกันการทำลายข้อมูลจากฝ่ายตรงข้าม โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DOD) และ องค์การป้องกันระหว่างประเทศ (ARPA)






เกิดขึ้นในไทย ครั้งแรก ในปีพ.ศ.2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีจุดประสงค์เพื่อใช้รับส่งอีเมลล์กับประเทศออสเตรเลีย ต่อมาภายหลังศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(NECTEC) ได้สร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น








การเชื่อมต่อ
1. การเชื่อมโยงโดยผ่านเกตเวย์ หรือ IP Router  มีความเร็วสูงมาก มักใช้ในองค์กร
2. การเชื่อมโยงผ่าน Internet Service Provider (ISP)

Internet Service Provider (ISP) หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันในไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ 2 ประเภท คือ 1)หน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา 2)บริษัทผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์

การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. Dial Up เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกับสายโทรศัพท์บ้าน เป็นการบริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์
                                           
2. ISDN คล้ายคลึงกับ Dial  Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันที่มีความเร็วสูง เป็นระบบดิจิตอล
                                               
3. DSL ยังคงมีความคล้ายคลึง กับรูปแบบ ISDN แต่ต่างกันที่ ในระหว่างเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็ยังสามารถพูดคุยโทรศัพท์บ้านได้ในเวลาเดียวกัน โดยรูปแบบ DSL จำเป็นต้องติดตั้ง Lan Card
                                                
4. Cable เชื่อมต่อโดยใช้สายเดียวกับ Cable TV สามารถเล่นเน็ตพร้อมดูทีวีได้ แต่ต้องติดตั้ง Cable Moderm
                                            
5. Satellites จำเป็นต้องติดตั้งจานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่รับสัญญาณ รูปแบบนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
                                                         



ช่องทางการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้หลายทาง
1. E-mail นิยมมาก เพราะใช้ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
                                                   

2. ระบบเครือข่ายใยแมงมุม หรือ WWW. เป็นการสื่อสารที่เติบโตเร็วที่สุด สามารถเเสดงข้อมูลในรูปแบบกราฟฟิกได้ ผู้ใช้ต้องมี Web Browser เช่น Navigator ,IE
                                                      
3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่
                                                   
                                                        

4. การเเลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet) เป็นเสมือนกระดานข่าว ที่แยกตามประเภทความสนใจ มีข้อมูลอัพเดตเสมอ
                                                   

5. การใช้เครื่องระยะไกล (Telenet) เป็นการขอเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ผู้ขอไม่จำเป็นต้องอยู่ที่หน้าจอเครื่องนั้น เพียงแค่มี account ก็สามารถเข้าใช้ได้
                                           


6. การสนทนาผ่านเครือข่าย สามารติดต่อได้เหมือนโทรศัพท์ ใช้ควบคู่ได้ทั้ง Text-based และ Voice-base
                                                    
7. Remote Login  ใช้ค้นหาบริการสารสนเทศ
                                        

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต 
- เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ มีข้อมูลที่กว้างขวาง ง่ายต่อการใช้
- เป็นตัวรับและส่งข่าวสาร เช่น mail ,board
- เป็นแห่งความบันเทิง  
- ใช้สำหรับการประกอบธุรกิจแบบไม่มีหน้าร้าน







     

      

  Graphic Mind Map เกี่ยวกับ "ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต" 






วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย Hardware Software Peopleware


Hardware หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ที่จับต้องได้ ลักษณะเป็นรูปธรรม 

โดยสามารถแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. หน่วยประมวลผลกลาง

-ซีพียู (CPU) เป็นวัสดุที่ทำมาจากซิลิคอน ความเร็วในการทำงาน มีหน่วยเรียกคือ "เมกะเฮิรตซ์" (MHz) หรือ 1 ล้านต่อวินาที
                                                             

2. หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล ที่อยู่ในรูปแบบต่างเช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

- แป้นพิมพ์ (Keyboard) ป้อนข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ แป้นพิมพ์ที่มีขนาดมาตรฐานมีขนาด 105 คีย์
                                                               
- เม้าส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งบนจอคอมพิวเตอร์ คลิกสั่งงานโปรแกรม
                                                               
- สแกนเนอร์ (Scanner) สำหรับสแกนรูปภาพ
                                                          
- จอยสติ๊ก (Joystick) สำหรับการเล่นเกมส์
                                                                 
-ไมโครโฟน (Microphone) สำหรับพูดอัดเสียง
                                                             
                                                                  

3. หน่วยเเสดงผล มีหน้าที่แสดงผล ที่ผ่านการประมวลมาแล้ว

-จอภาพ (Monitor) จอภาพที่นิยมใช้กันทั่วไป มีขนาด 15 หรือ 17 นิ้ว จอภาพในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                                                               
            จอภาพแบบ CRT ใช้หลักการสร้างภาพด้วยวงจรที่ยิงลำแสงเป็นเส้น ไปที่จอด้วยความถี่สูง ทำให้เกิดภาพด้านใน เหมือนจอโทรทัศน์
            จอภาพแบบ Flat Panel มีลักษณะแบนราบที่เรียกว่า LCD จอภาพใช้หลักการเคลือบคริสตอลไว้ที่ผิวทั้งสองด้านของแผ่นกระจก เมื่อวงจรควบคุมจอป้อนศักย์ไฟฟ้าก็จะเกิดความร้อน คริสตอลจะเรียงตัวเป็นภาพ
- ปริ้นท์เตอร์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกมาในรูปแบบข้อมูลบนกระดาษ
                                                   
- ลำโพง (Speaker) แสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบของเสียง
                                                       


4.หน่วยความจำ มีหน้าที่หลักในการจำข้อมูลให้คอมพิวเตอร์

- หน่วยความจำถาวร (Rom)
- หน่วยความจำชั่วคราว (Ram) ถ้าแรมน้อยคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้า
- หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary storage) เช่น ดิสก์ไดร์ฟ ดีวีดีรอม ทัมพ์ไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์
                                                      

Software หมายถึง โปรแกรมคำสั่ง มีลักษณะเป็นนามธรรม มีหน้าที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ดำเนินการตามคำสั่ง ภายใต้การควบคุมของซอฟท์แวร์นั้นๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่จัดระบบการเก็บข้อมูล
โดยบริษัทผู้ผลิตจะสร้างระบบมาพร้อมกับตัวเครื่อง
ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Oparating System) ซึ่งมีหน้าที่ ควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และยังช่วยจัดสรรการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
                                                 

2. โปรแกรมประยุกต์ คือโปรแกรมที่ถูกสร้างในภายหลังโดยโปรแกรมเมอร์ โดยแบ่งเป็น2 อย่างคือ
            โปรแกรมสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทซอฟท์แวร์ เพื่อใช้ในลักษณะงานนั้นๆ โดยโปรแกรมเมอร์ไม่ต้องเสียเวลาเขียนขึ้นเอง เช่น word processing software ,data base management software ,calculation software .business software

            โปรแกรมที่โปรแกรมเมอร์เขียนขึ้นมาเอง เพื่อใช้ในการเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมธุรกิจบ้านจัดสรร โปรแกรมจองที่พัก เป็นต้น
                                                           




Peopleware หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเอตร์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในฐานะผู้ใช้และผู้พัฒนา โดยในหน่วยงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักจะแบ่งไปด้วย 3 ฝ่ายหลักๆ คือ

1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ มีนักวิเคราะห์ระบบหรือSA ทำหน้าที่ในการตรวจหาข้อบกพร่อง รวมถึงความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อนำมาวิเคราะห์ พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนักออกแบบระบบ SD ทำหน้าที่ออกแบบวิธีการประมวลผล
                                                          
2. ฝ่ายเขียนโปรแกรม ฝ่ายนี้จะมีโปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ตามที่ SD ได้วางแผนไว้

3. ฝ่ายปฏิบัติงานและบริการ มีผู้ควบคุมเครื่อง ผู้จัดตารางเวลา  พนักงานเตรียมข้อมูลทำหน้าที่หลักในส่วนนี้




                                                           



วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมา ทำหน้าที่เปรียบเสมือนสมองของมนุษย์
ในการจดจำ และ ประมวลผลข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อน อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร เป็นต้น

ลักษณะพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับความนิยม คือ คอมพิวเตอร์สามารถจดจำข้อมูลได้ครั้งละมากๆ และสามารถคิดประมวลผลออกมาได้อย่างรวดเร็ว

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5






ความหมายของ Data

  


ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง ที่สามารถบันทึก และ นำไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ได้ โดยอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คน  สิ่งของ หรือสิ่งต่างๆ โดยข้อมูลนั้น อาจอยู่ในรูปแบบของ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือสัญลักษณ์ เป็นต้น

การค้นหาข้อมูล อาจทำได้โดย วิธีการสังเกต การรวบรวมข้อมูล การวัดข้อมูล เเละอื่นๆ 


ข้อมูลที่ดี ควรมีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
 1.ความถูกต้องครบถ้วน  เพราะข้อมูลอาจถูกนำไปเผยแพร่ หากข้อมูลเป็นเท็จ อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ 
 2. ความรวดเร็ว ข้อมูลต้องมีความทันสมัยตรงตามสถานการณ์ปัจจุบัน 
 3. ความชัดเจน กระทัดรัด เพื่อเข้าสะดวกในการเข้าชม 





ข้อมูล แบ่งออกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ  คือ ข้อมูลโดยตรงที่ได้จากการลงสำรวจ รวบรวมข้อมูล โดยผู้ทำการสำรวจ
2. ข้อมลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากการบอกเล่า หรือมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ก่อนหน้าแล้ว 







LET'S GO TO GOOGLE'S DATA CENTER  !!!!!!